จังหวัดสงขลา

เครือข่ายท้องถิ่นสงขลาร่วมปักธงจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่

@5 มี.ค. 62 14:33

"เครือข่ายท้องถิ่นสงขลาร่วมปักธงจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่"

เขียนโดย ชาคริต ดภชะเรือง

วันที่ 5 มีนาคม 2562
มูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมกับท้องถิ่นจังหวัดสงขลาชวนเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา เป้าหมาย ๒๒ ตำบล ที่ห้อง ceo ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัด วันนี้มาร่วมได้ ๑๔ ตำบล
เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจการทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ทั้งนำเสนอและแจกคู่มือการทำงานประกอบการทำความเข้าใจ

การได้มาของ ๒๒ ตำบลประกอบด้วย ตำบลที่ร่วมกับอบจ.และสปสช.จัดทำศูนย์สร้างสุขชุมชนดูแลคนพิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง คนยากลำบาก หรือร่วมกับศปจ.สงขลาเก็บข้อมูลคนยากลำบากฯ ร่วมกับ ๔pw เรื่องการจัดการขยะ การขับเคลื่อนเกษตรสุขภาพ หรือร่วมกับพชอ. หรือตำบลที่เครือข่ายแนะนำมา หรือตำบลที่เครือข่ายประสานงานมาต้องการเข้าร่วม

ท่านท้องถิ่นจังหวัดให้แนวทางว่า ท้องถิ่นเป็นงานบริการประชาชน เป้าหมายทั้ง ๑๗ ประการตรงกับภารกิจของท้องถิ่นที่จะดำเนินการอยู่แล้ว ประชาชนและสังคมได้ประโยชน์มากทีมที่มาช่วยจะเป็นการเสริมพลัง การมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของของประชาชนจะทำให้เกิดความยั่งยืน

ท่านยกตัวอย่างการจัดการขยะที่เป็นปัญหาร่วม สงขลาได้ร่วมกับม.จุฬาวิจัยการจัดการขยะเปียกในครัวเรือนนำร่องที่ต.พะวงกับต.รัตภูมิ ชั่งน้ำหนักขยะเปียกในแต่ละครัวเป็นเวลา ๑ เดือน นำมาคำนวณการเกิดมีเทนอันจะส่งผลไปเกิดภาวะโลกร้อน หากจัดการขยะเปียกในครัวเรือนได้จะนำไปสู่การสร้างหลักประกันชีวิต นำคาร์บอนเครดิตที่ได้ไปคิดคะแนนแปลงมาเป็นมูลค่าต่อไป

ทต.ระโนด ยกตัวอย่างการจัดการขยะ นำกระเป๋าถือที่ทำมาจากซองกาแฟ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาต่อยอดสร้างเป็นข้อตกลง หรือกติกาชุมชน หรือธรรมนูญชุมชนได้ทั้งสิ้น

นายกสินธพ อบต.ท่าข้ามเสริมว่าการทำธรรมนูญตำบลเปรียบเสมือนรถที่เติมวีเพาเวอร์ เสริมพลังขับเคลื่อน การทำธรรมนูญ ความคิดเชิงบวกจะช่วยปรับพฤติกรรมหรือวิธีคิดของผู้คน ดำเนินการจากเล็กไปใหญ่ สร้างต้นแบบแล้วไปขยายผล

อาจารย์ณัฎฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล จากม.ราชภัฏฯทีมกลางช่วยสะท้อนว่าธรรมนูญจะใช้กระบวนการนำ คำตอบจะอยู่ที่ตำบล จะทำกี่ด้าน กี่เป้าหมาย กระบวนการจะนำไปสู่คำตอบ

แนวทางดำเนินการต่อไป

๑.แต่ละตำบลกลับไปหารือกับผู้บริหารให้คำตอบการเข้าร่วมอีกครั้ง ยืนยันการเข้าจัดทำธรรมนูญ โดยมีช่องทางสื่อสารกลางคือกลุ่ม line "ตำบลน่าอยู่สงขลา"

๒.ส่งผู้รับผิดชอบตำบลละ ๑ คนเป็นอย่างน้อยมาร่วมดูงานตำบลท่าข้าม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำธรรมนูญตำบลในวันที่ ๕ เมษายน ณ อบต.ท่าข้าม ๑๐.๐๐-๑๕.๐๐ น.

๓.ตำบลใดมีความพร้อม สามารถนัดทำความเข้าใจแกนนำในพื้นที่(๓๐-๕๐ คนที่เป็นตัวแทนความคิดจากแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง) ให้นัดหมายทีมกลางจังหวัดลงไปช่วยทำความเข้าใจ กำหนดเป้าหมายร่วม จัดตั้งคณะทำงาน ดำเนินการได้ก่อนวันที่ ๕ โดยไม่ต้องรอการพัฒนาศักยภาพ หรือจะนัดประชุมคณะทำงานก่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนนัดหมายแกนนำพื้นที่ก็ได้เช่นกัน

งานวันพลเมืองสงขลา

@29 ส.ค. 61 11:23

งานวันพลเมืองสงขลา

“พลังพลเมืองนําการพัฒนา”

๒๙-๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑

ณ ห้องประชุมศรีเกียรติพัฒน์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

จัดทำโดย ภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินงาน

โครงการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการที่บ้าน

@5 มี.ค. 58 21:55

โครงการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการที่บ้าน (กิจกรรม อสม.) รุ่นที่ 2 วันที่ 5-6 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่

ร่วมด้วยช่วยกัน "พัฒนางานคนพิการในเขตเมืองหาดใหญ่"

@24 ก.พ. 58 15:53

งานร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเขตเมือง...งานด้านคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตเมืองแล้วเผลอๆแทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน

วันนี้ศูนย์บริการสาธารณสุขท.3 เทศบาลนครหาดใหญ่ที่รับผิดชอบ 3 ชุมชนได้แก่ สุภาพอ่อนหวาน หน้าค่ายเสนาณรงค์ ทักษิณเมืองทอง

ชวนทีมงานมาร่วมกำหนดแนวทางการทำงาน ศูนย์ฯที่นี่มีคนพิการ 33 คนแต่มีชื่อและที่อยู่ที่พอติดตามตัวได้ 12 คน

ส่วนที่เหลือยังต้องใช้ความสามารถของคณะกรรมการชุมชนในการลงค้นหา

การดูแลสมาชิกในชุมชนด้วยกันเป็นอีกหนึ่งความพยายามในเขตเมืองภายใต้โอกาสที่เครือข่ายความช่วยเหลือมีไม่น้อย

หากสามารถจับมือกันทำงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานได้ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

งานดูแลคนพิการในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ในปี 58

@19 ก.พ. 58 11:43

ขยับงานดูแลคนพิการในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ในปี 58 ปรับระบบทางการแพทย์ สังคม การศึกษาและอาชีพในพื้นที่นำร่อง ทีมงานเสนอ 2 พื้นที่ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุขท.3 ที่มี 3 ชุมชนร่วมดำเนินการได้แก่ สุภาพอ่อนหวาน ทักษิณเมืองทอง และหน้าค่ายเสนาณรงค์ และอีก 1 ชุมชนได้แก่ ป้อมหก เพื่อนำไปสู่การปรับระบบดูแลคนพิการในภาพรวมซึ่งมีช่องว่างการทำงานอีกมาก โดยมีทีมกลางที่จะมาช่วยหนุนเสริมขบวน โดยมูลนิธิชุมชนสงขลาจะนำผลการเก็บข้อมูล แนวทางแก้ปัญหาในภาพรวมเสนอทีมผู้บริหารคู่ขนานกับการนำร่องในชุมชนปฎิบัติการ นัดพบทีมงานระดับพื้นที่เพื่อถามความสมัครใจและสร้างการมีส่วนร่วมต่อไป เป็นอีกแนวทางขับเคลื่อนในพื้นที่เขตเมือง โดยใช้คนพิการเป็นตัวตั้งในการพัฒนาระบบสุขภาวะระดับตัวบุุคคล

ครูคำนึง เกษตรกรจากตำบลจะโหนง

@29 ก.ย. 57 18:22

ครูคำนึง เกษตรกรจากตำบลจะโหนง เปิดศูนย์เรียนรู้ของตนเอง ทำนามานาน ต่อมาได้ทดลองปลูก “ข้าวไฮโดรโปนิก” ทำนาแบบใช้ล้อยาง/ปล้องบ่อ/วงบ่อ ใช้ดินน้อย ปลูกได้ปีละ 4 ครั้ง และใช้แผงโซลาเซลสูบน้ำลงนา ทำแบบนาโยน ไม่พักนา ควบคุมปัจจัยดิน น้ำ ใช้พันธุข้าวดอกพะยอม ใช้ปุ๋ยน้ำ(น้ำหมักจากปลา) ครูคำนึงบอกว่าข้าวอินทรีย์ทิ้งไว้นานจะเป็นมอด ชาวนาจะเก็๋บข้าวเป็นข้าวเปลือก จะสีก็ต่อเมื่อต้องการบริโภค ครูบอกว่าข้าวในนางามหากเลี้ยงปลาไปด้วย ข้าวจะได้ธาตุอาหารจากขี้ปลา และไม่มีแมลงรบกวน ปัจจุบันครูคำนึงได้นำน้ำจากยอดไผ่ มาทำจำหน่ายคนจีนเพื่อสุขภาพ ทำลายนิ่วในร่างกาย ครูคำนึงมีพันธุ์ข้าวที่รวบรวมไว้ เช่น ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวดอกพะยอม ข้าวหอมนิลเปลือกขาว ข้าวไรซ์เบอรี่

การประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อหาแนวทางดูแลคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่

@29 ก.ย. 57 17:19

การประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อหาแนวทางดูแลคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ ทำกลุ่มย่อย 4 ด้านได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา การสวัสดิการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกโดยเชิญคนที่เกี่ยวข้องรวมถึงองค์กรคนพิการมาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่มาจากการเก็บแบบสอบถามจำนวน 312 คน(จากคนพิการ 1199 คน) และในช่วงบ่ายมีตัวแทนผู้บริหารมาร่วมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการทางกายและความเคลื่อนไหว สาเหตุความพิการมาจากการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ และแต่กำเนิดตามลำดับ ซึ่งต่อไปจะมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบ 100% ควบคู่กับการพัฒนากลไกคณะทำงานกลางและชมรมคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่

การประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการดูแลคนพิการ เทศบาลนครหาดใหญ่

@29 ก.ย. 57 13:11

หลังจากที่ได้เริ่มกระบวนการเก็บข้อมูลคนพิการของเทศบาลนครหาดใหญ่ จึงมีการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการดูแลคนพิการเพื่อระดมสถานการณ์และแนวทางในการจัดการเพื่อการจัดการต่อไป

การประชุมพัฒนาเครือข่ายข้าวอินทรีย์สงขลา

@27 ก.ย. 57 18:08

การประชุมพัฒนาเครือข่ายข้าวอินทรีย์สงขลาวันนี้ ที่สสว.12 ได้เห็นแนวทางของการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ อบจ.ปี 58 จะมีการทำศูนย์อบเมล็ดพันธุ์ข้าว วัดหนองถ้วย ต.ตะเครียะ ทางหอการค้ามองว่าในอดีตข้าวในสงขลาเคยเลี้ยงคนในคาบสมุทรมลายู(ข้าวระโนด) พันธุ์ข้าวของเราเคยชนะเลิศระดับโลก(ส่งข้าวเป็นเลียง/ข้าวมีชีวิต)ต่อมาการผลิตของเกษตรกรเปลี่ยนไป เสนอแนะให้ทำนาให้สอดคล้องกับผู้บริโภค ทำข้าวเฉพาะถิ่นให้เป็นเอกลักษณ์ ครูคำนึง จากจะโหนง ทำ“ข้าวไฮโดรโปนิก” ทำนาแบบใช้ล้อยาง/ปล้องบ่อ/วงบ่อ ปลูกได้ปีละ 4 ครั้ง ใช้แผงโซลาเซลสูบน้ำลงนา ทำแบบนาโยน ไม่พักนา ควบคุมปัจจัย ใช้พันธุข้าวดอกพะยอม ใช้ปุ๋ยน้ำ(น้ำหมักจากปลา) คุณสุวินัยจากสทิงพระ นำต้นอ่อนข้าวสาลี มาทำน้ำคลอโรฟีล ปรับสมดุลร่างกาย โดยสรุปกลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่ยึดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเอง ช่วยตนเอง มากกว่าหน่วยงานสนับสนุน โดยเฉพาะเกษตรภาคใต้มีความหลากหลายมากกว่าภาคอื่น

จากศักยภาพของพื้นที่การผลิตข้าวอินทรีย์ในสงขลา แนวทางการพัฒนาต่อในปี 58

1.  รายย่อยมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่า 2. การพัฒนาแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ 3. การรวมกลุ่มการผลิต ควบคุมคุณภาพ ลดค่าใช้จ่ายของต้นทุนปัจจัยการผลิต พัฒนาเครือข่ายภาพรวม 4. การสนับสนุนเมล็ดพันธ์ข้าวที่ชุมชนการผลิตต้องการ พันธุ์พื้นบ้านที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ มีจุดกระจายเมล็ดพันธุ์ตามชุมชน 5. ระบบฐานข้อมูลข้าวสงขลาครบวงจร เมล็ดพันธุ์ พื้นที่การเก็บเมล็ดพันธุ์ พื้นที่การผลิต ปริมาณผลผลิต การตลาด การขาย ข้อมูลต้นทุนการผลิต (เคมีและอินทรีย์) ใน www.ข้อมูลชุมชน.com สร้างองค์ความรู้ในการจัดการศัตรูข้าว การพัฒนาพันธุ์ข้าวชุมชนโดยธรรมชาติ ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที 6.  พัฒนารูปแบบการทำงานแบบภาคีเครือข่าย (รัฐ ชุมชน เอกชน ท้องถิ่น ) สร้างนโยบายการสนับสนุนรายย่อย จัดทำข้อมูลที่ชัดเจนและเสนอแผนงานโครงการ การส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกมิติ เครือข่ายครูภูมิปัญญาด้านข้าวสงขลา 7. การตลาดที่เป็นธรรม เชื่อมโยงเครือข่ายกับผู้บริโภคโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยทั้ง 5 เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิต รวมผลผลิต ต่อรองราคา พัฒนาเมล้ดพันธุ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว 8. สร้างช่องทางการตลาดในเฟชบุ๊ค ในชื่อ "ข้าวอินทรีย์สงขลา" 9. จัดมหกรรมข้าวอินทรีย์สงขลา ร่วมกับหอการค้าจังหวัด มหาวิทยาลัย อปท.และภาคีเครือข่าย

ทีมบันทึกข้อมูลคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่ สรุปบทเรียนภาพรวมการเก็บข้อมูล

@16 ก.ย. 57 19:13

ทีมบันทึกข้อมูลคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่ สรุปบทเรียนภาพรวมการเก็บข้อมูล ยังพบปัญหาในเรื่องของการเข้าถึงตัวคนพิการ มีบางส่วนมีแต่ชื่อ แต่ไม่มีตัวตนจากหลายสาเหตุ ทั้งโยกย้าย ทั้งหาไม่เจอ ยังต้องซ่อมข้อมูลให้สมบูรณ์ แต่ก็มีจำนวนข้อมูลที่บันทึกใน www.ข้อมูลชุมชน.com แล้วเกือบ 300 คน รวมกับข้อมูลเดิมเป็น 800 กว่าคนและรอบันทึุกอีก 60 ราย นัดหมายประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข จัดระบบการดูแลคนพิการในด้านสุขภาพ ด้านอาชีพและสวัสดิการ ด้านการศึกษา และด้านสังคม เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเทศบาลนครหาดใหญ่ร่วม 70 คน ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่วันที่ 29 กันยายน ตั้งแต่ 09.00 น. และนำเสนอข้อมูลให้กับผู้บริหารเทศบาลในช่วงบ่าย มูลนิธิชุมชนสงขลาจะรีบประสานงานต่อไป เชิญ สท. เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนครับ

คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลคนพิการอำเภอรัตภูมิ เรียนรู้ระบบบันทึก

@12 ก.ย. 57 17:51

12-09-57 นัดพี่ๆคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลคนพิการอำเภอรัตภูมิ เรียนรู้ระบบบันทึกข้อมูลผ่าน WWW.ข้อมูลชุมชน.com มีทีมงานหลักจาก รพ.สต. และอปท.ในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ ่ ได้ปฏิบัติการนำข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวนเกือบ 1,000 ชุด เข้าระบบ. เจอปัญหาในระหว่างการบันทึก ได้ทำการแก้ไขปัญหาร่วมกับทีมกลางได้แก่ สมาคมคนพิการและมูลนิธิชุมชนสงขลา มีคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ เว็บมาสเตอร์ผู้เขียนโปรแกรม ร่วมอบรมให้ความรู้และตอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการบันทึกข้อมูล. และนัดหมายการบันทึกข้อมูลเข้าระบบให้แล้วเสร็จในวันที่ 22 กันยายนนี้ และจะจัดสมัชชาคนพิการอำเภอรัตภูมิในวันที่ 29 กันยายน 2557

ทิศทางข้าวจังหวัดสงขลา ต่อยอดการทำนาอินทรีย์เชื่อมคนในได้กิน เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค

@10 ก.ย. 57 22:25

เวลา 13.00 น วันที่ 10 กันยายน 2557 เครือข่ายเกษตรทางเลือก ภัยพิบัติ ห้องเรียนท้องนา ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลควนรู ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา พูดคุย โครงการบูรณาการสุขภาพอนามัยภาคประชาชนจังหวัดสงขลา :งานพัฒนานโยบายสาธารณะวิสาหกิจชุมชนสงขลาประเด็นข้าว

เพื่อสำรวจความสนใจของเครือข่าย เพื่อต่อยอดเรื่อง การทำนาข้าว และเชื่อมตลาด ซึ่งชาคริต โภชะเรือง ชี้แจงว่า ขณะนี้มูลนิธิชุมชนสงขลา กำลังทำเรื่องฐานข้อมูล และการตลาดเรื่องข้าว

ถ้าแต่ละกลุ่มทำข้อมูลออกมาได้ว่าเรามีเท่าไร่ ชุมชนกินเท่าไร่ และถ้าต้องการตลาด แบบไหนถึงจะเหมาะสม อาทิ ทำตลาดออนไลน์ ไม่ต้องสต๊อกสินค้า

เราสามารถมาเป็นหุ้นส่วน ลงขันร่วมกันได้ เชื่อมโยงหอการค้าเข้ามาร่วม ตรงนี้เราเรียกตลาดล่วงหน้า ที่เราจะควบคุมการผลิตได้

เราเน้นการทำนาข้าวอินทรีย์ มาหนุนช่วยการรวมกลุ่ม และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร แล้วต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์

สุวินัย หนูยิง จากชาวนาจากตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิ้งพระ จังหวัดสงขลาทำเกษตรอินทรีย์ หลังจากประสบปัญหาเรื่องสุขภาพจึงไปศึกษาแนวธรรมชาติบำบัด ได้พบหมอเขียว ใจเพชร อาจารย์ภานุ พิทักษ์เผ่า แล้วมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมา 10 กว่าปี

แต่เดิมวินัยทำงานที่ตะวันออกกลาง มีความเจ็บป่วย จนแพทย์แผนปัจจุบันระบุว่าต้องกินยาตลอดชีวิต หลังเข้าอบรม ก็มาทำเกษตรอินทรีย์ปี 2553 ปลูกผัก ข้าว และคิดเรื่องผลิตภัณฑ์ขึ้นมาด้วยตัวเอง

อย่างน้ำไซเดอร์ เนื่องจากปัจจุบันนี้น้ำเป็นกรด มีการใช้คอรัส สารส้ม หรือการกรองทำให้น้ำสะอาด แต่สุดท้ายน้ำที่ได้มาก็ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากแล้ว

โรคร้ายต่างๆ จะพัฒนาในภาวะที่ร่างกายเป็นกรดนี่เอง ดังนั้นเราต้องเพิ่มความเป็นด่าง ด้วยกันไปปรับค่าให้ร่างกายเราสมดุลขึ้น

อย่างที่ผมทำไซเดอร์เวนิกา ทำจากน้ำส้มสายชูหมักผลไม้ เอามาปรับค่า ph ให้ตรงกับน้ำย่อยเรา ถ้าเรากินให้ตรงกับที่เรามีเราจะอายุยาวขึ้น

ผลิตภัณฑ์ไซเดอร์นี้ทำจากลูกโหนดสุก เมื่อสุกแล้วหมดค่า เป็นอาหารวัว วินัยจึงส่งให้มอ.วิจัยพบว่า มีเบต้าคาโรทีน กรดอซิติก ละลายหินปูนได้ฯ

น้ำส้มหมักไว้กินปรุงอาหาร ไม่ควรแช่ตู้เย็นและความร้อน นำไปปรุงอาหารดูแลผู้ป่วย

สำหรับข้าววินัยทำนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองทิ้งพระ เป็นพันธุ์ยายอ เป็นข้าวนิ่มใช้เวลาทำข้าว 150 วัน การที่ข้าวอยู่ในนานานจะมีคุณสมบัติต้านทานโรคสูง

แรกๆ วินัยใช้ทฤษฏีแกล้งดิน เพราะดินที่สทิ้งพระมีสภาพเป็นกรด สาเหตุที่ทำให้รรุนแรงเช่นนี้เพราะใช้เคมี วินัยใช้เครื่องมือซอยเทส ไม่ว่านาข้าวหรือผลไม้ มีการใช้ปุ๋ยโดโรไม ทำดินให้เป็นกลางจะไม่ต้องใช้ปุ๋ยมาก

ถ้าดินไม่เป็นกรดมาก ดินจะดึงปุ๋ยไปใช้ได้เร็ว ถ้าปรับดิน ดีกว่าใส่ปุ๋ยมาก เมื่อรู้ค่าดินก็คำนวนปูนขาวลงไปเลย หลังใส่ปูนขาว 1 เดือนดินก็เป็นกลางแล้ว ซึ่งดินแบบนี้พืชต้องการ

พันธุ์ข้าวอื่นๆ มีข้าวเหมะ เฮี้ยว หอมจันทร์ เมืองเจ้าพระยา ที่ดิน 1 ไร่ วินัยผลิตได้ 700-800 กิโลกรัม ตอนนี้เขามีที่ที่จะเปลี่ยนจากนาปาล์มมาเป็นนาข้าวอีก 70 ไร่

ลลิตา บุญช่วย ทำนาหว่านที่ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิ้งพระ จังหวัดสงขลามา 6 ปีแล้ว เธอเล่าว่า ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 5 ไร่ 7 สายพันธุ์ ข้าวหอมกระดังงา หอมจำปา หอมมะลิแดง หอมปทุม เขี้ยวงู หอมนิล เฉี้ยง

ในที่นาเลี้ยงปลา เป็ด ด้วยการใช้รำ หยวกให้กิน ทำปุ๋ยหมักน้ำ พันธุ์ข้าว ที่บ่อแดงมีตาจวนเป็นผู้เก็บสายพันธุ์ข้าว แล้วนำมาขยายพันธุ์กันเอง

มีการทำร่วมกันหลายพื้นที่ ตรงนี้ทำกันในพื้นที่โซนคาบสมุทรในนามเครือข่ายเกษตร

พื้นที่ทีทำมาแล้วพัฒนาต่อ ควบคู่ไปกับพื้นที่ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกัน เริ่มจากบ้านละ 1-2 ไร่ก่อนก็ได้ ทำให้เห็นจริง เริ่มจากปรับสภาพดิน ปีแรกอาจแค่ได้กินเพราะพื้นที่นาใช้เคมีมานาน

สมนึก นุ่นด้วง ศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลควนรู้ เล่าถึงการพลิกฟื้นผืนนาที่ฟื้นฟูวิถีชีวิตผู้คน จากการที่คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาทำนาที่รัตภูมิ วัฒนธรรมการให้ข้าวใหม่คืนกลับมาให้เขาอีกครั้งในปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะเป็นพันธุ์ข้าวไร้เบอรี่ก็ตาม

การทำนาจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเมื่อปรับค่าดินได้ผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้น ทำเองกินเองสุขภาพก็ดีขึ้น หากทำแล้วสร้างรายได้ด้วยครอบครัวก็พึ่งตัวเองได้ และยังเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคด้วย นี่คือทิศทางการทำข้าวของชาวนาและเครือข่ายทั้ง 28 คนในวันนี้

โดย Pavinee Chaipark

ถอดบทเรียนการทำฐานข้อมูลคนพิการอำเภอนาทวี

@14 ส.ค. 57 19:09

นัดทีมทำงานระบบฐานข้อมูลคนพิการอำเภอนาทวี ซึ่งได้ต่อยอดขยายผลการทำงานไปมาก โดยการสนับสนุนและเป็นกำลังหลักของรพ.สมเด็จฯ อำเภอนาทวี ทำงานร่วมกับท้องถิ่นและภาคีส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการแพทย์ สังคม การศึกษา อาชีพ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่สามารถใช้ข้อมูลในการทำงานในระดับอำเภอ ระบบฐานข้อมูลคนพิการใน www.ข้อมูลชุมชน.com เป็นอีกนวตกรรมหนึ่งที่เกิดจากความต้องการและสนองตอบปัญหาของพื้นที่(เก็บข้อมูลคนพิการ 100% ทำให้รู้ว่าสาเหตุความพิการมาจากโรคเรื้อรังมากกว่าอุบัติเหตุ เป็นจุดเปลี่ยนมากำหนดยุทธศาสตร์ใหม่) และสะท้อนช่องว่างของระบบ ที่ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายมากขึ้นและการทำงานไม่อาจแยกส่วนจากกันอีกต่อไป ระบบโครงสร้างภาครัฐที่ยังต่างคนต่างทำ ไม่อาจสนองตอบการแก้ปัญหาที่จะต้องเชื่อมโยง ทำงานในลักษณะองค์รวม หรือทำงานกับเครือข่าย ซึ่งพื้นที่ชุมชนสามารถทำได้ดีกว่าส่วนกลางที่เป็นเพียงต้องการข้อมูลเพื่อสนองตอบงานและประโยชน์เฉพาะหน้า เห็นพื้นที่เป็นเพียงกลไกตอบสนองความต้องการ จนมีคำพูดว่าหากผู้บริหารอยากได้ "ลม" สุดท้านผลงานที่ได้จึงเป็นเพียงลมหรือข้อมูลปลอมๆเพื่อยืนยันความคิดของตนเท่านั้น ผลลัพธ์การทำงานหาได้ต้องการไม่

อบรมการเก็บข้อมูลและให้ความรู้การดูแลคนพิการให้ทีมเก็บข้อมูล อ.รัตภูมิ

@8 ก.ค. 57 09:05

8 ก.ค. 57 - มูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมกับเครือข่ายคนพิการ อ.รัตภูมิ ได้เริ่มกระบวนการในการจัดข้อมูลคนพิการใน อ.รัตภูมิ มาจนถึงขั้นออกแบบสอบถามเรียบร้อย และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการอบรมการจัดเก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลคนพิการ

การประชุมสร้างความร่วมมือการดูแลคนพิการในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ

@10 มิ.ย. 57 09:30

การประชุมสร้างความร่วมมือการดูแลคนพิการในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ

10 มิ.ย. 57 - มูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมกับองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ ได้ร่วมกันพูดคุยเพื่อสร้างแนวทางในการสร้างความร่วมมือการดูแลคนพิการในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ เพื่อสร้างความร่วมมือในการปรับระบบดูแลคนพิการในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ ลดช่องว่างการทำงานการดูแลคนพิการ ของหน่วงานภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ และองค์กรภาคประชาชน เพื่อหนุนซึ่งกันและกันในการดูแลสุขภาพ การศึกษา การจ้างงาน เจตคติ ทางสังคม สิ่งอำนวยความสะดวก สิทธิประโยชน์

โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยประชาชนจังหวัดสงขลา เปิดเวทีชวนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการในพื้นที่อำเภอรัตภูมิหารือความร่วมมือในการดูแลคนพิการระดับอำเภอ มีท้องถิ่น รพสต. สสอ. กศน. ชมรมผู้สูงอายุ อพมก. พมจ. อบจ. สมาคมคนพิการจังหวัด/สภาคนพิการทุกประเภท และมูลนิธิชุมชนสงขลาช่วยกำหนดแนวทางความร่วมมือ โดยเริ่มจากฐานข้อมูลคนพิการที่มีประมาณ 1000 คน ต่อยอดจากการดำเนินงานเดิม อุดช่องว่าง ยกระดับการทำงานให้ดียิ่งขึ้น สร้างสังคมที่ชุมชนไม่ทอดทิ้งกันในระดับพื้นที่

ที่มา Facebook

เวทีหาแนวทางจัดตั้งชมรมคนพิการอำเภอนาทวี

@4 ก.ค. 56 14:27

มูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับโรงพยาบาลสมเด็จนาทวีและสมาคมคนพิการ ได้จัดเวทีเพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งชมรมคนพิการอำเภอนาทวี เป็นสมาคมระดับอำเภอ หลังจากที่ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลคนพิการของอำเภอนาทวีเสร็จเรียบร้อย ได้เชิญหน่วยงาน องค์กร ต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันคนพิการมาพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งชมรมคนพิการอำเภอนาทวี

ภาณุมาศ นนทพันธ์ ได้นำเสนอรายงานผลของการจัดทำฐานข้อมูลคนพิการของอำเภอนาทวีที่ได้เริ่มกระบวนการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 55 จนถึงปัจจุบัน สามารถประมวลออกมาเป็นรายงานและกราฟนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นนถึงสิ่งได้มาจากการจัดทำฐานข้อมูลคนพิการ

ยงยุทธ แสงพรหม ได้นำเสนอแนวทางและข้อมูลต่าง ๆ ของการจัดตั้งชมรมคนพิการ

นาทวี - พื้นที่ใหม่ในการทำฐานข้อมูลคนพิการ

@21 ธ.ค. 55 10:08

21 ธันวาคม 2555 - การร่วมพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานฐานข้อมูลคนพิการในอำเภอนาทวี ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ นาทวี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รพ.สต. มูลนิธิชุมชนสงขลา เข้าร่วมในการหาแนวทางในการดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลคนพิการในอำเภอนาทวีให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

นำเสนอการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการจังหวัดสงขลา

@19 ก.ย. 55 10:04

19 กันยายน 2555 - ชาคริต โภชะเรือง ได้นำเสนอเรื่องการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการประจำจังหวัดสงขลาให้กับที่ประชุมของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3/2555 ณ ห้องประชุมงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา โดยมีรายละเอียดดังนี้

"การพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการประจำจังหวัดสงขลา ได้เลือกดำเนินการในพื้นที่นำร่องในระดับอำเภอ คืออำเภอนาหม่อม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลคนพิการซึ่งได้มีบัตรประจำตัวคนพิการแล้ว รวมทั้งเฝ้าระวังคนพิการที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวคนพิการ อาจจะอยู่ในช่วงของการฟื้นฟูสมรรถภาพในลักษณะรายบุคคล โดยมีการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-สกุล, อายุ, เพศ, ที่อยู่, สิทธิการรักษาพยาบาล, สวัสดิการที่ได้รับ (ด้านการแพทย์, สังคม, อาชีพ, การศึกษา) เป็นต้น โดยเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับองค์กรคนพิการ, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิน โดยการจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูข้อมูลของคนพิการแต่ละรายได้ ผ่านทางเว็บไซท์ www.ข้อมูลชุมชน.com ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 (สปสช.)"

ประชุมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาภาคีภาคใต้

@12 มิ.ย. 55 13:54

12 มิถุนายน 2555 - ภาคีตระกูล ส. (สสส. สช. สปสช. สกว. พอช. สพม.) ภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาควิชาการ ได้มาร่วมประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของภาคีในภาคใต้ไปสู่การปฎิรูปประเทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยมีแนวคิดเปิดกรอบการทำงานไร้พรมแดน/ไร้องค์กร แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง มีการบูรณาการข้อมูล mapping งานในหลายมิติ เน้นงานคุณภาพในพื้นที่ กรทบทวน/ประเมินฐานงานในพื้นที่ มีกลุ่มร่วมคิดร่วมคุย ตามธรรมชาติ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพจัดระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกำหนดเป้าหมายร่วม เติมเต็มในส่วนที่ขาด แล้วแยกกันดำเนินการหรือร่วมกันตามความสนใจ

หลังจากคุณชิต ได้กล่าวต้อนรับในฐานะของประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา และนายแพทย์ธีรวัฒน์ กร... ได้กล่าวถึงที่มาของการสร้างความร่วมมือ แต่ละภาคีความร่วมมือได้นำเสนอรูปธรรมแนวทาความร่วมมือใน 3 ประเด็นคือ

  1. การพัฒนากลไกเชิงบูรณาการระดับเขต (7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง)
  2. การพัฒนากลไกเชิงบูรณากรระดับจังหวัด
  3. ประเด็นการทำงานร่วมระดับเขตและจังหวัด

หาดสมิหลา

@7 เม.ย. 55 13:59

หาดสมิหลา ชายทะเลเมืองสงขลาซึ่งเปรียบเสมือนห้องรับแขกธรรมชาติที่ต้อนรับผู้มาเยือนเรื่อยมาจนปัจจุบันหาดสมิหลาอยู่ทางตอนเหนือของชายทะเลเมืองสงขลาถัดจากแหลมสนอ่อนทอดยาวไปจรดแหลมสมิหลาที่อยู่ท้ายหาดทางด้านใต้ เป็นชายหาดสวยงามน่าเดินเล่นทรายขาวละเอียด น้ำไม่ลึกมาก เล่นน้ำได้ดี ตลอดแนวจัดเป็นสถานที่พักผ่อนทางวิ่งออกกำลังกาย จุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของเกาะหนู เกาะแมวเป็นฉากหลังมีปฏิมากรรมรูปนางเงือกนั่งอยู่บนโขดหิน อันเป็นสัญลักษณ์ของสมิหลาพร้อมด้วยรูปปั้นแมวและหนูที่บอกเล่าตำนานของเกาะหนูเกาะแมวเป็นที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวตั้งใจมาเยือนเมื่อมาถึงจังหวัดสงขลา

การเดินทางไปยังแหลมสมิหลา

หาดสมิหลา อยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา ห่างจากตลาดสดเทศบาลเพียง 2.5 กม. การเดินทางสะดวกมีถนนเลียบชายหาดตลอดแนว

กิจกรรมที่น่าสนใจในแหลมสมิหลา

  • ชมทิวทัศน์แหลมสมิหลาและทะเลสงขลา
  • ชมปฏิมากรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของสมิหลา
  • พักผ่อนในบรรยากาศชายทะเล
  • เดิน-วิ่งออกกำลังกาย

ที่มา www.siamfreestyle.com

ข้อมูลท่องเที่ยว และสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา

@7 เม.ย. 55 13:57

:: สงขลา ::

นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้"

เมืองใหญ่สองทะเล"คำขวัญนี้เกิดขึ้นมาจากการที่สงขลามีพื้นที่ครอบคลุมท้องน้ำทั้งชายฝั่งอ่าวไทย และทะเลสาบสงขลา ทะเลในแห่งเดียวของไทยเป็นลักษณะเฉพาะของจังหวัดสงขลาเท่านั้น

สงขลามีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสามของภาคใต้ ริมฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกห่างจากกรุงเทพประมาณ 950กม. เป็นจังหวัดชายแดนอีกจังหวัดหนึ่งที่ติดกับบางส่วนของประเทศมาเลเซียเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญมาแต่สมัยโบราณ ปรากฏโบราณสถาน โบราณวัตถุอีกทั้งยังมีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและการละเล่นพื้นเมืองที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาสงขลามีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมายทั้งเกาะแก่ง ชายทะเลน้ำตกและทะเลสาบ

ขณะที่สงขลายังคงมีสภาพของเมืองเก่าแก่ ที่เป็นเอกลักษณ์ อ.หาดใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนที่สำคัญของภาคใต้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเป็นภาพที่แตกต่างอย่างน่าสนใจทั้งที่อยู่ห่างกันเพียง 30 กม. เท่านั้น

ข้อมูลจังหวัดสงขลา :: เรื่องน่ารู้จังหวัดสงขลา ::ประวัติเมืองสงขลา ::เทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์์ ::เส้นทางท่องเที่ยว วิถีโหนด นา เล ::ชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร เกาะยอ ::สงขลาอินเตอร์เนชั่นแนลมาราธอน ::

ข้อมูลเพิ่มเติม สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญในจังหวัดสงขลา

@7 เม.ย. 55 13:54
  • สถานีตำรวจภูธร: โทร.0-7432-2238, 0-7432-4258
  • โรงพยาบาลสงขลา: โทร.0-7433-8100
  • โรงพยาบาลหาดใหญ่: โทร.0-7423-0800-3
  • สถานีเดินรถ (บขส): โทร.0-7442-9230, 0-7432-2789
  • สถานีรถไฟหาดใหญ่: โทร.0-7426-1290, 0-7423-4978
  • สนามบินหาดใหญ่: โทร.0-7422-7000,  0-7422-7131-2
  • การบินไทย บมจ (หาดใหญ่): โทร.0-7423-3433
  • ตรวจคนเข้าเมือง: โทร.0-7425-1096
  • ททท.สำนักงานภาคใต้ เขต 1: โทร.0-7423-1055, 0-7423-8518
  • ตำรวจทางหลวง: โทร.1193,0-7421-1222
  • ตำรวจท่องเที่ยว: โทร.1155,0-7424-6733
  • ศูนย์กู้ชีพ นเรนทร: โทร.1669

การเดินทางไปยังสงขลา

@7 เม.ย. 55 13:53

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม)หรือทางหลวงหมายเลข 35(ธนบุรี-ปากท่อ)แล้วไปเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4ที่แยกวังมะนาวล่องใต้ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ถึงชุมพรตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี ทุ่งสง พัทลุงเข้าทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้งไปยังหาดใหญ่และสงขลา ระยะทางประมาณ 950 กม. จากชุมพรมาตามทางหลวงหมายเลข 41 ถึงอำเภอพุนพินเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 401ผ่านเมืองสุราษฎร์ธานี สิชล ท่าศาลา เมืองนครศรีธรรมราชแล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 408 ผ่านหัวไทร ระโนด สทิงพระ สิงหนครข้ามสะพานติณสูลานนท์เข้าเมืองสงขลา

ทางรถไฟมีขบวนรถเร็วและรถด่วนผ่านและออกจากสถานีชุมทางหาดใหญ่เข้ากรุงเทพฯวันละหลายขบวนสอบถามรายละเอียดและตารางการเดินรถได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690,0 2223 7010,0 2223 7020 หรือ www.railwayco.th และสถานีหาดใหญ่ โทร.0 7424 3705,0 7423 8005

รถโดยสารประจำทางบริษัทขนส่ง จำกัดมีรถให้บริการระหว่าง กรุงเทพฯ-หาดใหญ่และกรุงเทพฯ-สงขลา ออกจากขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนีทุกวันใช้เวลาเดินทางประมาณ 13 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติม โทร.0 2435 1199,0 24352000,0 2435 5557-8หรือ www.transport.co.th และที่หาดใหญ่โทร.0 7423 2404,0 7423 2789

รถโดยสารปรับอากาศเอกชน สอบถามรายละเอียดได้ที่

  • บริษัท ปิยะทัวร์ โทร.0 7442 8972
  • บริษัท ไทยเดินรถ โทร.0 7442 9525

ทางเครื่องบิน มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ทุกวัน สอบถามตารางบินและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  • บริษัท การบินไทย จำกัด โทร.1566,0 2280 0060,0 2628 2000 หรือ www.thaiairways.com และสำนักงานหาดใหญ่ โทร.0 7424 5851-2,0 7423 3433
  • สายการบินนกแอร์ โทร.1318 หรือ www.nokair.co.th
  • สายการบินแอร์เอเชีย โทร.0 2515 9999 หรือ www.airasia.com
  • สายการบิน วันทูโก โทร.1126 หรือ www.fly12go.com

สัญลักษณ์จังหวัดสงขลา

@7 เม.ย. 55 13:37

สัญลักษณ์จังหวัดสงขลา

 คำอธิบายภาพ : logo_songkhla รูปหอยสังข์บนพานแว่นฟ้า หมายถึง รูปหอยสังข์ซึ่งยังค้นหาหลักฐานของความหมายได้ไม่แน่ชัด แต่บุคคลบางคนบอกที่มาของตราประจำจังหวัดนี้ว่า เดิมเคยเป็นตรากระดุมเสื้อฉลองพระองค์ ของกรมหลวงสงขลานครินทร์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุยเดชวิกรมบรมชนกนาถ ต่อมากรมศิลปากรออกแบบตราสังข์ ใช้เป็นเครื่องหมายตราจังหวัดสงขลา

จังหวัดสงขลา ใช้อักษรย่อว่า "สข"

...................................................................................................

คำขวัญและแผนที่จังหวัด

"นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้"

...................................................................................................

ประวัติจังหวัดสงขลา

" สงขลา.. " ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรม

สงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์ โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora) ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่า สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง ต่อมาได้มีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา

สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวสืบต่อกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ ประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมสมัยที่เมืองสทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือศูนย์กลางของอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ศตวรรษ เพราะมีร่อยรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น

ในพุทธศตวรรษที่ 19 ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน เรียกว่า "เมืองพัทลุงที่พะโคะ" ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคามบ่อย ๆ ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโค๊ะค่อย ๆ เสื่อม หลังจากนั้นเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง บริเวณรอบทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา และได้กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง และอีกแห่งที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และกลายเป็นเมืองพัทลุง

ระหว่างปี พ.ศ.2162-2223 เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายูอพยพมาจากอินโดนีเซีย พวกมลายูเหล่านี้ได้หลบหนีการค้าแบบผูกขาด ของพวกดัทช์มาเป็นการค้าแบบเสรีที่สงขลา โดยมีอังกฤษ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในระยะแรกระหว่าง ปี พงศ.2162-2185 เจ้าเมืองสงขลาเป็นมุสลิม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2185-2223 เจ้าเมืองสงขลาเป็นกบฎไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดจึงถูกสมด็จพระนารายณ์มหาราชปราบปรามจนราบคาบ และถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง จนถึงช่วงปี พ.ศ.2242-2319 เมืองสงขลาไปตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน เรียกว่า เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งตัวเมืองสงขลาปัจจุบัน

เมืองสงขลาได้พัฒนาเป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยานคร ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น "หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา) เชื้อสายของตระกูลนี้ได้ปกครองเมืองสงขลาติดต่อกันมาไม่ขาดสายถึง 8 คน (พ.ศ.2318-2444)

จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2379 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ระหว่างที่ก่อสร้าง ตวนกู อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบปรามขบถเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างป้อม และกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ และได้จัดให้มีการฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของแหลมสน "ตำบลบ่อยาง" คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบัน

ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458) และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468) นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้ จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475 ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลทั่วไป

ประวัติจังหวัดสงขลา

 คำอธิบายภาพ : songkhlagate " สงขลา.. " ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรม

สงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์ โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora) ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่า สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง ต่อมาได้มีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา

สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวสืบต่อกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ ประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมสมัยที่เมืองสทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือศูนย์กลางของอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ศตวรรษ เพราะมีร่อยรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น

ในพุทธศตวรรษที่ 19 ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน เรียกว่า "เมืองพัทลุงที่พะโคะ" ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคามบ่อย ๆ ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโค๊ะค่อย ๆ เสื่อม หลังจากนั้นเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง บริเวณรอบทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา และได้กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง และอีกแห่งที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และกลายเป็นเมืองพัทลุง

ระหว่างปี พ.ศ.2162-2223 เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายูอพยพมาจากอินโดนีเซีย พวกมลายูเหล่านี้ได้หลบหนีการค้าแบบผูกขาด ของพวกดัทช์มาเป็นการค้าแบบเสรีที่สงขลา โดยมีอังกฤษ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในระยะแรกระหว่าง ปี พงศ.2162-2185 เจ้าเมืองสงขลาเป็นมุสลิม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2185-2223 เจ้าเมืองสงขลาเป็นกบฎไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดจึงถูกสมด็จพระนารายณ์มหาราชปราบปรามจนราบคาบ และถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง จนถึงช่วงปี พ.ศ.2242-2319 เมืองสงขลาไปตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน เรียกว่า เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งตัวเมืองสงขลาปัจจุบัน

เมืองสงขลาได้พัฒนาเป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยานคร ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น "หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา) เชื้อสายของตระกูลนี้ได้ปกครองเมืองสงขลาติดต่อกันมาไม่ขาดสายถึง 8 คน (พ.ศ.2318-2444)

จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2379 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ระหว่างที่ก่อสร้าง ตวนกู อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบปรามขบถเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างป้อม และกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ และได้จัดให้มีการฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของแหลมสน "ตำบลบ่อยาง" คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบัน

ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458) และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468) นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้ จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475 ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน

คำขวัญประจำจังหวัด

"นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้"

ข้อมูลเชื่อมโยง