การประสานการขับเคลื่อนเป็นสิ่งสำคัญ

by Little Bear @24 ก.ค. 62 09:28 ( IP : 171...142 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1317x640 pixel , 60,346 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 88,795 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 62,247 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 63,973 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 69,619 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 71,847 bytes.

ชัดเจนมากขึ้นทุกวัน...วันนี้กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัด สสจ.พมจ.สมาคมคนพิการจังหวัด มูลนิธิชุมชนสงขลา/ศปจ.สงขลา/กขป.เขต ๑๒ ยกทีมไปพบภาคียุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนเปราะบาง ได้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู ในพื้นที่จังหวัดสงขลา รอบเช้าไปพบผอ.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เขต ๑๒ รอบบ่ายพบพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มีข้อสรุปสำคัญดังนี้

๑.ประสานความร่วมมือนำข้อมูลพื้นฐานได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ ตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย(เฉพาะหน่วยงานที่ทำได้) นำเข้าศูนย์ข้อมูลกลาง และโปรแกรมเมอร์แอพฯiMed@home นำไปใช้ประสานการทำงานของพื้นที่

๒.ปรับระบบเก็บข้อมูลจากเดิมที่ใช้แบบสอบถาม มีหลายหน้า ใช้งบและจัดการมาก มาปรับเป็นการจัดเก็บข้้อมูลแบบเร่งด่วนผ่านแอพฯโดยร่วมกันจัดทำกรอบพัฒนาคุณภาพชีวิต บูรณาการแนวคิดของมหาดไทย พม. และสธ. นำมาเป็นกรอบในการทำงานร่วมของพื้นที่โดยมีอบจ.เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับ อปท. ศูนย์สร้างสุขชุมชน มูลนิธิชุมชนสงขลา/ศปจ.สงขลาและเครือข่าย

๓.กรอบแนวคิดที่ได้นำมาลงในระบบเยี่ยมบ้านแอพพลิเคชั่น iMed@home โดยปรับหมวดหมู่ในหัวข้อความต้องการใหม่อีกรอบ ให้อสม.เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมแล้ว(ราว ๑ พันกว่าคน) รวมไปถึงอพม.(มีทุกหมูู่บ้านในสงขลาอีกราวพันกว่าคน) หรือ CG หรือจิตอาสาที่จะอบรมเพิ่มเติมให้สามารถใช้แอพฯสำรวจข้อมูลความต้องการรายบุคคล นำข้อมูลที่ได้มากำหนดแนวทางช่วยเหลือ ดูแล โดยบูรณาการร่วมกันระดับจังหวัด(อบจ. พมจ. สสจ.ฯลฯ) อำเภอ(พชอ.) ตำบล (ศูนย์สร้างสุข/อปท.ฯลฯ)

๔.ใช้กลไกศูนย์สร้างสุขชุมชนที่จะดำเนินการ ๑๑ แห่ง บางแห่งบูรณาการกับศูนย์ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของพมจ. ศูนย์คนพิการทั่วไป นำข้อมูลมาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีีวิตระดับตำบล โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม) จัดหมวดหมู่ในระบบกลุ่มงานและนำร่องจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคลในบางตำบล วัดผล รายงานผลผ่านแอพฯiMed@home

๕.ข้อมูลพื้นฐานบางส่วนได้จากพม. สสจ. ส่วนสปสช.ไม่สามารถนำข้อมูลบุคคลมาให้ได้ แต่สามารถให้ข้อมูลในภาพรวม เช่นนั้นแล้ว ระบบข้อมูลจะมี ๒ ระบบ คือ ระบบเดิมที่แต่ละหน่วยงานดำเนินการ ซึ่งยึดโยงกับส่วนกลาง กับระบบของพื้นที่ ซึ่งมีอบจ.และเครือข่ายดำเนินการ มีศูนย์ข้อมูลกลางที่จะใช้เฉพาะคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่สามารถนำมาประสานความร่วมมือกันได้โดยมีกองทุนฟื้นฟูฯเป็นเจ้าภาพหลัก และใช้แอพฯ iMed@home เป็นระบบข้อมูลกลางร่วมกันในระดับปฎิบัติการ(อสม.เชี่ยวชาญ อสม. อพม. cg จิตอาสา) กับระดับคณะทำงานจังหวัด อำเภอ ตำบล(Admin) ในการรายงานผล

๖.ดำเนินการคู่ขนานกับธนาคารกายอุปกรณ์ สำรวจข้อมูลกายอุปกรณ์ที่มีในระบบ จัดตั้งธนาคารกายอุปกรณ์ ณ รพ.๑๖ อำเภอ จัดระบบการหมุนเวียนกายอุปกรณ์ การบริจาค การซ่อมบำรุง

๗.ข้อมูลจากการสำรวจจากพื้นที่ จากผู้ปฎิบัติฐานราก จะนำมาสู่การกำหนดนโยบายในการพัฒนาระบบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการ และนำมาสู่การจัดหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ การบริการเชิงรุกอันจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนเปราะบางเป็นอย่างมาก

ทั้งหมดนี้จะดำเนินการในระยะแรก (๓-๖ เดือน) สรุปผลที่ได้ หากได้ผลดี เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้จะขยายผลเชิงนโยบายต่อไป

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 0154
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง